ชูก้า หรือ ชูการ์ไกลเดอร์ กระรอกบิน How to เลี้ยงอย่างไรให้ถูกวิธี

ชูก้า หรือ ชูการ์ไกลเดอร์ กระรอกบิน How to เลี้ยงอย่างไรให้ถูกวิธี

ชูก้า หรือ ชูการ์ไกลเดอร์ กระรอกบิน How to เลี้ยงอย่างไรให้ถูกวิธี

ชูก้า หนึ่งในสัตว์เลี้ยงยอดนิยมไม่แพ้น้องหมาและน้องแมว อาจจะหนีไม่พ้นเจ้าชูก้า หรือชูการ์ไกลเดอร์ ที่รู้จักกันในนามของกระรอกบิน ที่มีขนาดเล็กกระทัดรัด และที่สำคัญน้องเลี้ยงง่ายเป็นอย่างมาก หน้าตาของน้องก็น่ารัก แถมยังติดคนมีความขี้อ้อนทำให้หลายคนรู้สึกหลงรักน้องอย่างแน่นอน และถ้าหากคุณเป็นคนที่ชื่นชอบการเลี้ยงสัตว์ตัวเล็ก ๆ อยู่แล้วล่ะก็ วันนี้เราจะพาทุกคนไปรู้จักกับน้องชูก้ากัน ว่าน้องคือตัวอะไรกันแน่ และสามารถเลี้ยงน้องอย่างไรให้ถูกวิธี มาดูกัน

เรียกได้ว่ายังคงได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องเลยก็ว่าได้ สำหรับน้องชูก้าที่นอกจากในไทยจะมีการเลี้ยงกันอย่างแพร่หลายแล้ว แต่ในต่างประเทศอย่างสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นนนั้นก็ได้รับความนิยมไม่แพ้กันเลยก็ว่าด้วยน้องเป็นสัตว์ที่มีความแปลกใหม่เป็นอย่างมาก แถมยังได้ชื่อว่าเป็นสัตว์ที่มีความรักต่อเจ้าของแถมนิสัยก็สุนแสนจะน่ารักอีกด้วย ยิ่งถ้าหากมีการฝึกฝนอย่างเต็มที่ น้องจะผูกพันกับเจ้าของเป็นอย่างมาก ซึ่งปกติน้อง ๆ อาจจะมีการซ่อนหรือหลบหนี แต่ถ้าหากน้องรักแล้วจะต้องการอยู่ร่วมกันกับครอบครัว หรืออยู่ใกล้ชิดคนเสมอ ก่อนจะเข้าเรื่องของน้องแบบจัดเต็ม เรียกได้ว่าอ่านจบบทความนี้ได้ความรู้แบบอัดแน่นในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับชูการ์ไกลเดอร์อย่างแน่นอน ยิ่งสำหรับคนที่เป็นมือใหม่อย่างเลี้ยงน้องด้วยนั้น อย่ารอช้า มาอ่านกันเถอะ บทความเกี่ยวกับสัตว์พิเศษที่น่าสนใจ

ชูก้า ลักษณะทางกายภาพ

ชูก้า Sugar Glider Facts

ชูการ์ ไกลเดอร์ หรือกระรอกบิน บางครั้งก็จะถูกเรียกว่า จิ้งโจ้บิน เพราะบริเวณหน้าท้องมีกระเป๋าคล้ายกับจิงโจ้นั่นเอง โดยรูปลักษณ์ของน้องจะมีความคล้ายกระรอก หางยาว แตกต่างตรงที่น้องสามารถบินได้ จะมีร้อยแต้มหน้าที่ผากและหน้าอก โดยตัวผู้จะมีขนาดใหญ่กว่าตัวเมีย ส่วนความยาวจากจมูกถึงปลายหางจะประมาณ 12-13 นิ้ว เฉพาะลำตัวจะยาวประมาณ 5-6 นิ้ว

ชูก้าจะมีขนที่หนานุ่ม ส่วนมากขนจะมีสีเทา แต่บางตัวก็จะมีสีน้ำตาลหรือสีเหลือง โดยจะมีแถบสีดำตั้งแต่จมูกไปจนถึงกลางหลัง ส่วนท้องกับลำคอ รวมถึงอกจะมีสีครีม และเพราะน้องสัตว์ที่หากินตอนกลางคืนจึงมีดวงตาที่กลมโต หูจะสามารถหมุนรับทิศทางได้รอบเพื่อเป็นตัวช่วยในการระบุตำแหน่งของเหยื่อได้ ถิ่นที่อยู่ของน้องจะอยู่ตามป่าเขาในประเทศออสเตรเลีย อินโดนีเซีย และนิวกินี ซึ่งที่มาของ ชูการ์ ไกลเดอร์ มาจากการที่น้องชอบกินน้ำหวานจากพืชและผลไม้ต่าง ๆ (sugary) และยังบินได้อีกด้วย (glide) 

อุปนิสัยของชูก้า

ชูการ์ ไกลเดอร์

ชูก้าจะเป็นสัตว์ที่ขี้เล่น ชอบเข้าสังคม ดังนั้นควรให้น้องอยู่กันเป็นกลุ่มหรือเป็นคู่ ชอบมีปฏิสัมพันธ์กับผู้คน สะอาด และไม่ยุ่งยากในการเลี้ยงดู เล็บยาวแหลมคม เวลาเค้ากระโดดหาหรือปีนที่ตัวเจ้าของ อาจจะทำให้เป็นรอยข่วนได้ มีฟันที่แหลมคม แต่น้องไม่ดุร้าย จะกัดก็ต่อเมื่อถูกข่มขู่หรือรู้สึกหวาดกลัวเท่านั้น และเป็นสัตว์ที่มีสุขภาพดี โดยมีอายุได้ถึง 12-14 ปี ซึ่งถ้าหากเลี้ยงตั้งแต่เป็นชูก้าเด็กผู้เลี้ยงนิยมจะนำไปฝึกชูก้าร่อน รวมถึงการฝึกชูก้าให้เชื่องอีกด้วย

อาหารชูก้า

อาหารของน้องชูก้านั้น โดยปกติจะเป็นพวกน้ำหวานของดอกไม้หรือจากผลไม้ก็ได้ รวมถึงยังมีสิ่งที่น้องห้ามกินอีกด้วย สำหรับผลไม้ที่เหมาะกับน้องนั้น จะต้องเป็นผลไม้ที่มีสหวาน เช่น ฝรั่ง มะม่วงสุก องุ่นแดง แคนตาลูป แตงโม ชมพู่ อโวกาโด เงาะ ข้าวโพดต้มสุก ลำใย ขนุน ทุเรียน ซึ่งผลไม้พวกนี้นั้นอาจจะให้น้องทานได้แบบพอดีหรือเป็นพอกระสัยเท่านั้น และนอกจากน้องจะทานพวกเนื้อผลไม้แล้ว ยังสามารถให้น้องทานพวกน้ำผลไม้ได้ด้วย ไม่ว่าจะเป็นการคั้นหรือปั่นเองเป็นแบบกล่อง ทั้งนี้ต้องเป็นผลไม้แท้ 100% เท่านั้น ส่วนอาหารตามธรรมชาติของน้อง ปกติน้องจะหากินตอนกลางคืน โดยจะกินพวกยางไม้ แมลง และเกสรดอกไม้ต่าง ๆ และถ้าหากคุณเป็นผู้เลี้ยงน้องนั้นอาจจะต้องแยกการทานอาหารตามช่วงอายุที่แตกต่างกันออกไป

  • อายุแรกเกิด – 4 เดือน เป็นชูก้าเด็กอาจจะให้เป็นซีลีแลคเพียงอย่างเดียว เพราะกะเพาะของเด็ก ๆ ยังปรับตัวได้ไม่ดีนักจึงไม่แนะนำให้ทานอย่างอื่นนอกเหนือจากซีลีแลค
  • อายุตั้งแต่ 4 เดือนขึ้นไป เรียกได้ว่าเป็นชูก้าโต นอกจาก ซีลีแลคแบบ Carnivorous Care สามารถให้ทานผลไม้พวกรสหวาน เช่น ชมพู่ แตงโม องุ่น ขนุน เงาะ ลำใย ฝรั่ง รวมถึงพวกหนอน แมลง เช่น หนอน waxworm ตัวอ่อนผึ้ง จิ้งหรีด และน้องยังสามารถทานพวกยางไม้ เกสรผึ้งได้อีกด้วย
  • สำหรับอาหารที่ห้ามทาน คือ อาหารทอด ช็อกโกแลต และที่สำคัญเลยคือจิ้งจก

การเลี้ยงดูน้องชูก้า

ชูก้า มาซูเปีย

การเลี้ยงดูนั้นเริ่มต้นจะต้องเตรียมกล่องหรือกรงที่มีขนาดใหญ่พอสมควร อาจจะมีความสูงมากกว่าความกว้าง เพราะน้องชอบปีนและกระโดด ข้อแนะนำคือหากิ่งไม้ หรืออุปกรณ์สำหรับปีนป่ายด้วยก็จะยิ่งดี ภายในกรงควรจะมีช่องระบายอากาศที่ดีพอสมควร และยังต้องมีถุงนอนหรือผ้าจัดไว้ให้ด้วย เพราะน้องชูก้านั้นจะชอบนอนซุกตามถุงผ้า หรือโพรงเนื่องจากเป็นสัตว์ที่ขี้หนาว 

สำหรับการทานอาหารนั้น ดังที่ได้กล่าวไปข้างต้นว่าน้อง  ๆ สามารถทานอาหารได้หลากหลายประเภทเลยทีเดียว กินได้ทั้งพืชและสัตว์ ชอบทานผลไม้ที่มีรสหวานอย่าง กล้วย แอปเปิ้ล มะละกอ มะม่วงสุก แตงโม ทั้งนี้ควรให้น้องทานอาหารที่หลากหลายสลับสับเปลี่ยนผลไม้ไปเรื่อย ๆ เพื่อให้ได้รับวิตามินที่ครบถ้วน อาจจะให้กินแมลงอย่างพวก จิ้งหรีด ตั๊กแตน หนอนนก เพื่อ เพิ่มโปรตีน ในช่วงอายุ 2 เดือนแรกสำหรับปริมาณอาหารจะให้ทานแค่พวก ซีลีแลค หรือ นม วันละ 4-6 ครั้ง เพราะอยู่ในวัยเจริญเติบโต  แต่เมื่อโตขึ้นเข้าสู่เดือนที่ 3 ก็อาจจะลดเหลือแค่วันละ 2 – 3 ครั้งก็พอเพียงพอ และสำหรับน้อง ๆ ที่มีอายุ 4 เดือนขึ้นไป ให้อาหารแค่วันละ 1 – 3 ครั้งและควรเตรียมน้ำสะอาดไว้ในกรงด้วย 

แม้ว่าชูก้าเป็นสัตว์ที่รักสะอาดและทำความสะอาดตัวเองอยู่เสมอ แต่ถ้าหากสังเกตเห็นว่าร่างกายน้อง ๆ สกปรกและเริ่มมีกลิ่น สามารถพาไปอาบน้ำได้ โดยการใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นหมาด ๆ เช็ดตามลำตัว หรืออาบน้ำฟอกสบู่ได้เลยเพียงแต่ต้องใช้เวลาที่รวดเร็ว รีบเช็ดตัวและทำตัวให้แห้ง เพื่อป้องกันปอดชื้น

ชูก้า วิธีเลี้ยงสำหรับมือใหม่

Can Sugar Gliders make Good Pets? – สื่อการสอน.com

สำหรับมือใหม่ในการเลี้ยงน้องชูก้าอาจจะมีปัญหาบ้าง ไม่ว่าจะเป็นการป้อนนมแล้วน้องไม่ยอมทาน วิธีการป้อนนม หรือน้องึเป็นน้ำแต่แยกไม่ออกว่าน้องท้องเสียหรือว่าท้องมีการปรับ เราจะมาให้ข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับคนที่เพิ่งจะเริ่มเลี้ยงหรือเลือกซื้อน้องชูก้ามาเลี้ยง เช่นลูกของชูการ์ไกลเดอร์กินอะไร ป้อนอาหารยังไง และต้องทำอย่างไรกับชูก้าเด็ก ต้องมีอุปกรณ์และต้องเตรียมตัวอะไรบ้าง มาหาคำตอบกัน

ชูก้า กับการอาการภูมิตก

เมื่ออากาศมีการเปลี่ยนแปลงอาจจะต้องดูแลน้องชูก้ารวมถึงเด็ก ๆ ด้วยการหาผ้ามาคลุมกรงเพื่อรักษาอุณหภูมิหรืออาจจะมีการกกไขขนาด 60 วัตต์ รวมถึงอาจจะให้ทานอาหารที่มีประโยชน์อาทิเช่น การเสริมโปรตีนให้กับน้อง ๆ เพื่อให้สามารถเปลี่ยนแปลงไปเป็นพลังงานความร้อนในร่างกายน้องรู้สึกอบอุ่น ทั้งนี้ถ้าหากน้อง ๆ ได้รับการดูแลเอาใจใส่เป็นอย่างดี ทั้งในเรื่องคุณภาพของอาหารที่มีความครบถ้วนตามโภชนาการจะทำให้ชูก้ามีร่างกายที่แข็งแรงและสามารถต้านโรคต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี

และถ้าหากอากาศมีการเปลี่ยนแปลง เช่น ฤดูเปลี่ยนผ่านจากหน้าร้อนไปหน้าฝน หรือเข้าสู่ช่วงปลายฝนต้นหนาว รวมถึงช่วงที่มีลมกรรโชกแรง น้องชูการ์ไกลเดอร์จะสามารถต้นทานต่อสถาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงกระทันหันได้เป็นอย่างดี น้องจะไม่เจ็บป่วยง่ายหรือมีร่างกายที่อ่อนแอ ยิ่งถ้าหากเลี้ยงน้อง ๆ ที่เป็นแม่อ่อน อาจจะต้องดูแลให้ดีเพิ่มมากยิ่งขึ้นเพราะแม่พันธุ์ช่วงนี้จะมีร่างกายที่อ่อนแอ และเจ็บป่วยได้ง่าย ทั้งนี้ถ้าหากไม่ทันได้สังเกตอาจจะทำให้ชูก้าเสียชีวิตและทิ้งลูกน้อยที่ยังไม่สามารถหาอาหารกินเองได้ โดยการเลี้ยงชูก้าเด็กนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย โอกาสรอดยากเพราะระบบทางเดินอาหารของเด็ก ๆ ไม่สามารถรับอาหารของคนได้ 

สำหรับช่วงที่ต้องระวังเป็นพิเศษนั้น คือช่วงปลายฝนต้นหนาวโรคที่พบบ่อยจะเป็นโรคจากบริเวณทางเดินหายใจ อย่างโรคปอดบวมที่น้องชูก้าที่ป่วยจะเริ่มแสดงอาการ ซึม เบื่ออาหาร จมูกแห้ง มีไข้ หายใจเร็วถี่ๆ รู้สึกเหมือนหายใจลำบาก จนกระทั่งต้องอ้าปากหายใจ อาจจะมีอาการเอาลิ้นห้อยออกมานอกปากโดยลักษณะห้อยออกมาด้านข้าง ซึ่งสามารถทำให้ชูการ์ไกรเดอร์เสียชีวิตได้ สำหรับการรักษาต้องพาน้องไปพบสัตวแพทย์โดยด่วน เพื่อทำการเอ็กซ์เรย์ปอด รวมถึงรับการพ่นยาฆ่าเชื้อ และต้องรับประทายาตามคำสั่งของหมอ

ชูก้า กับการตัดเล็บ

สำหรับการการตัดเล็บให้น้องชูก้า ต้องเตรียมอุปกรณ์ดังนี้

  • กรรไกรตัดเล็บ
  • ถุงนอนชูการ์ อาจจะเลือกใบที่มีความหนาแต่ไม่ใหญ่เกินไป
  • อาหารโปรดของชูการ์แต่ละตัว สำหรับน้องชูก้าที่กำลังจะโดนตัดเล็บ

วิธีการตัดเล็บชูการ์

  • เอาน้องชูการ์ใส่ในถุงนอน
  • เอาอาหารโปรดที่น้องชูการ์ชอบกินใส่ในถุงนอน
  • ดึงแขนชูการ์หรือขาชูการ์ออกมาตัดทีละข้าง
Should You Keep Sugar Glider as a Pet?

สำหรับข้อควรระวังในการตัดเล็บ ให้ตัดแค่ปลายแหลมเท่านั้น ระวังหัวน้องที่โผล่จากถุงนอน ซึ่งน้องอาจจะงับหรือกัดได้ ต้องคอยดันหัวน้องให้อยู่แต่ฝในถุงนอนเท่านั้น อาจจะต้องมีการเติมอาหารบ้างถ้าหากน้องกินหมดเร็วทั้ง ๆ ที่เรายังตัดเล็บไม่เสร็จ เสริมนิดหน่อยสำหรับชูการ์ไกลเดอร์นั้น บางตัวอาจจะหวงถิ่นหรืออาจจะไม่ถูกกับกลิ่นของชูก้าตัวอื่น ทางที่ดีควรใช้ถุงนอนเดิมของน้อง และถ้ากรณีตัดเล็บแล้วเข้าเนื้อต้องทำแผลให้น้องด้วย โดยการใช้น้ำเกลือล้างแผล เบตาดีน (เจือจางกับน้ำ 1 ต่อ 1) คอทตอนบัด ทั้งนี้ในการตัดเล็บนั้น ควรจจะตัดก็ต่อเมื่อสังเกตว่าน้องมีเล็บคมแล้ว ซึ่งถ้าหากไม่มีการตัดเลยอาจจะทำให้เล็บไปเกี่ยวกับถุงนอนผ้ารองนอนของเล่นที่เป็นผ้า อาจจะทำให้น้องเกิดอันตรายได้ ทั้งนี้อาจจะมีการหัดตัดเล็บให้น้องแต่เด็ก น้องจะได้เกิดความเคยชิน

เครดิตรูปภาพ witcastthailand.com

Share:

Facebook
Twitter
Pinterest
VK

Table of Contents