สำหรับคนรักหมาแล้วนั้น หนึ่งในสายพันธุ์ที่คนอยากเลี้ยงมากที่สุดที่ได้รับความยอดนิยมไม่แพ้พันธุ์อื่น ๆ ก็อาจจะเป็นเจ้าหมา เฟรนช์บูลด็อก หน้าย่น รูปร่างกลม ตัวป้อม ๆ ขาสั้น ๆ ใบหูโตตั้งเหมือนกับค้างคาว เวลาเดินทิ้งเอวเหมือนส่ายสะโพกไปมา ซึ่งทำให้หลายคนหลงรักได้อย่างเฟรนช์บลูด็อก แม้ว่าน้องจะมีประวัติที่ยาวนานมาก แต่ในไทยก็ถือว่าเป็นหมาที่หลายคนอยากจะมาครอบครองไว้ ฟาร์มเฟรนช์บลูด็อกจึงถือเป็นทางออกเลยก็ว่าได้ เพื่อให้ได้พันธุ์ที่ดีที่สุด และก่อนจะเริ่มหาซื้อน้องนั้น วันนี้เราจะทุกคนไปรู้จักกับน้องให้มากขึ้นกว่านี้กัน
ประวัติของสุนัข เฟรนช์บูลด็อก
French bulldog (เฟรนช์ บูลด็อก มีแหล่งกำเนิดประเทศฝรั่งเศสตามคำว่า ‘French’ ในชื่อสายพันธุ์ ต้นกำเนิดมาจากการผสมพันธุ์ของ English bulldog กับ Boston Terriers โดยสายพันธุ์นี้ปรากฏครั้งแรกเมื่อช่วงคริสศตววรษที่ 19 และเป็นสุนัขสำหรับตระกูลชนชั้นสูงในสมัยนั้น คนในสหรัฐอเมริกา และประเทศอังกฤษ มักนิยมเลี้ยงสุนัขพันธุ์เฟรนช์ บูลด็อกทำให้ในต่อมาถูกนิมยมเรียกสุนัขพันธุ์ เฟรนช์ บูลด็อกเป็น Frenchie (เฟรนช์ชี่) และมีชื่อเล่น คือ Clown dogs เพราะมีความขี้เล่นคล้ายตัวตลก หรือ Frog dogs เพราะตอนนั่งขาหลังของสุนัขจะกางออก ซึ่งค่าตัวน้อง ๆ มีราคา $750 หรือเทียบเท่ากับตั๋วขึ้นเรือไททานิคเลยทีเดียว เฟรนช์บูลด็อก ได้รับการขึ้นทะเบียนสายพันธุ์โดย American Kennel Club (AKC) ในปี 1965 และในปัจจุบัน พวกมันเป็นสายพันธุ์ที่ได้รับความนิยมที่สุดในโลกอันดับที่ 2 รองจากแชมป์ตลอดกลางอย่างลาบราดาร์ รีทรีฟเวอร์อีกด้วย
ลักษณะทางกายภาพของสุนัขเฟรนช์บลูด็อก
น้องหมา เฟรนช์บลูด็อก นั้น ถือเป็นหนึ่งในสุนัขที่มีร่างกายที่ประกอบไปด้วยกล้ามเนื้อ หรือที่เรียกว่าเนื้อแน่น น้องมีความตื่นเต้นและยังตื่นตัวอยู่เสมอทั้งนี้น้องไม่ได้เหมาะกับการเล่นกีฬา โดยจัดเป็นสุนัขที่มีกล้ามเนื้อเยอะ ขนปกคลุมตัวน้อย จมูกสั้น และกระดูกหนา ซึ่งลักษณะที่สังเกตได้ง่ายคือการมีหูแบบค้างคาว เพราะหูของเฟรนช์ บูลด็อกจะมีฐานหูกว้าง และใบหูใหญ่ หางสั้น ซึ่งจะพบเป็นลักษณะตรงหรือบางครั้งก็บิดเป็นเกลียว แต่ทั้งนี้จะไม่พบลักษณะของหางที่งอ ภายใต้สมาคม The American Kennel Club (AKC) และ Canadian Kennel Club Standard ได้มีการระบุเกี่ยวกับน้ำหนักของ เฟรนช์ บูลด็อกนี้จะหนักไม่เกิน 28 ปอนด์ หรือ 13 กิโลกรัม โดยส่วนมากนั้นจะมีน้ำหนังอยู่ที่ 10-13 กิโลกรัม ทั้งนี้ทางองค์กร The Fédération cynologique internationale (FCI) หรือ World Canine Organization ไม่ได้จำกัดน้ำหนักที่ห้ามเกินไว้ สำหรับน้ำหนักที่เหมาะสมและอยู่ในลักษณะที่มีความสมส่วนนั้น จะอยู่ที่น้ำหนักไม่ต่ำกว่า 8 กิโลกรัม และห้ามเกิน 14 กิโลกรัม
สำหรับสีและลักษณะการเรียงของสีขนนั้น โดยทั่วไปจะพบน้องเฟรนช์บลูด็อกได้แบบหลากหลายสี ไม่ว่าจะเป็น สีครีม (Cream), สีลายเสือ (Brindle), สีดำ (Black), สีขาว (White), สีแดง (Red), สีน้ำตาลแกมเหลือง (Fawn), และสีฟ้า (Blue) โดยองค์กร The Fédération cynologique internationale (FCI) ได้ออกกฎพื้นฐานว่า ห้ามเพาะพันธุ์น้อง ๆ ให้เกิดสีที่พบได้ยากอย่าง สีน้ำตาล (Brown), สีดำ-น้ำตาล (Black and tan), และสี mouse grey หรือสีฟ้า (Blue)
ทั้งนี้ถ้าหากคุณต้องการเลี้ยงน้อง การศึกษาข้อมูลในเรื่องของมาตรฐานสายพันธุ์ รวมถึงลักษณะร่างกายที่ดีจึงถือว่าเป็นสิ่งสำคัญ ถ้าหากได้เลือกซื้อน้องหมาเฟรนช์บลูด็อกเพื่อนำมาเลี้ยงนั้น สิ่งที่ต้องสังเกตอันดับแรกคือ
มาตรฐานสายพันธุ์เเละลักษณะทางร่างกายที่ดีสำหรับสุนัขพันธุ์ เฟรนช์บูลด็อก โครงหน้า ใบหู และขน โดยมาตรฐานตามสายพันธุ์ของเฟรนช์ชี่ จะมีกะโหลกใหญ่แบน ใบหน้าสั้นทรงรูปสี่เหลี่ยม แก้มมีกล้ามเนื้อ โดยน้อง ๆ ที่มีลักษณะกะโหลกยาวถือว่าไม่ตรงตามมาตรฐาน และเฟรนช์ชี่แท้ทุกตัวจะมีหูตั้ง โคนหูใหญ่เหมือนค้างคาว และปลายหูโค้งมน ต่อมาคือความยาวขน และขนจะต้องมีความสั้น เรียบ และแน่นหนา มีความนุ่มนิดหน่อย ทั้งนี้เฟรนช์บลูด็อกที่มีขนยาวอาจจะเกิดจากยีนส์เด่นที่ผสมกับยีนส์ด้อยของพ่อแม่แท้ได้ ซึ่งถือว่าไม่ถูกต้องตามมาตรฐาน
ลักษณะนิสัย เฟรนช์บูลด็อก
เฟรนช์บูลด็อก โดยตามธรรมชาติสายพันธุ์แล้ว น้อง ๆ จะเรียบร้อย อ่อนโยน ใจเย็นและไม่ก้าวร้าว โดยมีความเชื่อว่าเมื่อเลี้ยงแล้วจะมีแต่โชคดีตลอดไป น้องจะเห่าก็ต่อเมื่อมีเหตุการณ์น่าตื่นเต้นเท่านั้น ในทางกลับกัน อาจมีพฤกติกรรมก้าวร้าวในบางครั้งเมื่อพบเจอกับสายพันธุ์และเพศเดียวกัน เข้ามาในบ้าน ทางสัตวแพทย์จึงแนะนำให้ทำหมัน เพื่อลดความตื่นตัวและกะตือรือร้นลงได้ ทั้งนี้น้องเฟรนช์บลูด็อกนั้นจะเหมาะกับเจ้าของที่มีเวลาให้ หรือเลี้ยงเป็นสุนัขตัวเดียวในบ้าน เพราะน้อง ๆ ต้องได้รับดูแลเอาใจใส่จากเจ้าของและความใกล้ชิดเป็นพิเศษ และน้องยังเป็นสุนัขที่ไม่ต้องออกกำลังกายมาก แต่จำเป็นที่ต้องออกไปเดินเล่นอย่างน้อยวันละหนึ่งครั้ง ด้วยความน้องเป็นสัตว์ใจเย็น เห่าน้อย จึงเหมาะกับเจ้าของที่พักอาศัยอพาร์ทเม้นท์ที่ต้องการเลี้ยงสุนัข น้องจะเห่าก็ต่อเมื่อมีเหตุการณ์ตื่นเต้น นอกจากนีเน้องมีสายพันธุ์ที่ลักษณะทางกายภาพหน้าสั้น จึงมักจะเกิดปัญหาที่เกี่ยวกับการหายใจ น้องจึงไม่สามารถเลี้ยงภายนอกอาคารได้ ต้องอยู่ในที่ร่ม หรือห้องที่มีแอร์ ทั้งนี้ข้อควรระมัดระวังคือ ห้ามพาน้อง ๆ ไปออกกำลังกายที่มีอากาศร้อน หรืออากาศที่ชื้น
ทั้งนี้เวลา เฟรนช์บลูด็อก เล่นกับเด็กอาจจะต้องมีการดูแลอย่างใกล้ชิด ทั้งนี้น้องยังไม่เหมาะกับการเลี้ยงภายในบ้านร่วมกับเด็กอีกด้วย แม้ว่าจะเป็นหมาพันธุ์เล็ก แต่กลับมีน้ำหนักมากและค่อนข้างที่จะแข็งแรง จึงอาจจะเป็นอันตรายต่อเด็กได้นั่นเอง และดังที่ได้กล่าวไปว่าในบางครั้งน้อกอาจจะก้าวร้าวไปบ้าง ซึ่งอาจจะเกิดจากการที่พบเจอเพศเดียวกัน ซึ่งทางที่ดีควรจะเลือกเพศตรงข้ามกันให้เข้ามาอยู่ในบ้านจะดีกว่า สำหรับการทำหมันนั้น ถือเป็นทางออกในการลดความก้าวร้าวได้ค่อนข้างดี เพราะจะลดการตื่นตัวและกระตือรือร้นให้น้อยลง ทั้งนี้เวลาที่เหมาะสมของการทำหมันคือ ก่อนเฟรนช์บลูด็อกทั้งสองเพศจะมาเจอกัน
อาหารสุนัขพันธุ์ เฟรนช์บูลด็อก ที่เหมาะสม
น้องหมา เฟรนช์บูลด็อก ค่าเฉลี่ยน้ำหนักของจะอยู่ที่ประมาณ 10-13 กิโลกรัม แม้ว่าน้องจะเหมือหมาตัวเล็ก ๆ แต่ความจริงแล้วน้องมีตัวที่แน่นตั้บมาก ประกอบไปด้วยกล้ามเนื้อมากมาย ซึ่งสิ่งจำเป็นที่เจ้าของต้องทราบคือการเลือกอาหารการกินที่สามารถบำรุงกล้ามเนื้อให้มีความแน่นและสวยงามอยู่เสมอ โดยอาหารที่เหมาะกับน้อง ๆ จะแบ่งออกทั้งหมดสามช่วงวัยดังนี้
- ช่วงอายุ 1-3 เดือน น้องหมาเฟรนช์บลูด็อก อาจจะยังค่อนข้างเด็ก โดยสัตวแพทย์จะแนะนำให้มีการให้อาหารกับน้องด้วยปริมาณ1 – 1.5 ถ้วย แบ่งเป็น 3 มื้อต่อวัน และถ้าต้องการให้น้องมีกล้ามแน่น มีหุ่นดีเมื่อโตขึ้นนั้น สารอาหารที่ควรเน้นคือพวกโปรตีนสูง ๆ ทั้งนี้น้องจะมีโรคทางพันธุกรรมอย่างปัญหาภูมิแพ้ผิวหนัง ซึ่งมักจะทำให้น้องแพ้ไก่
- โตเต็มวัย อายุ 1 ปีขึ้นไป น้องเริ่มกินอาหารวันละ 2 มื้อ ในปริมาณ ¾ – 1.5 ถ้วยตวงไปเรื่อย ๆ ให้เคยชินและคงที่กับปริมาณน้ำหนัก ซึ่งในวัยนี้มักจะมีปัญหาท้องอืดง่าย ฉะนั้นห้ามลืมที่จะรักษาสุขภาพให้น้อง ๆ ด้วยไฟเบอร์และพรีไบโอติกต่าง ๆ โดยมันจะช่วยเข้าไปปรับการทำงานของลำไส้ทำให้น้องมีสุขภาพที่แข็งแรงมากยิ่งขึ้น
- สูงวัย อายุ 7 ปีขึ้นไป ถ้าต้องการให้น้องอยู่กับเรานาน ๆ การให้อาหารจึงเป็นสิ่งสำคัญ เมื่อเลี้ยงน้องมาถึงอายุเท่านี้แล้วนั้น ด้วยลำตัวที่มีความใหญ่ แต่ขาที่สั้นอาจจะส่งผลต่อสะโพกและข้อต่อต่าง ๆ เฟรนช์บลูด็อกที่สูงวัย จะมีควรมีอาหารเสริมที่มีมีกลูโคซามีน คอนดรอยติน และกรดไขมันโอเมก้า 3 มากขึ้น ซึ่งจะคอยบำรุงให้กระดูกและสุขภาพของน้อง ๆ แข็งแรงไปตลอดช่วงอายุหลังจากนี้
โรคประจำพันธุ์ของ เฟรนช์บลูด็อก
สำหรับ เฟรนช์บูลด็อก นั้น ถือได้ว่าเป็นสายพันธุ์ที่มีสุขภาพดีมากที่สุดเลยก็ว่าได้ แต่ก็ยังมีโรคประจำพันธุ์ของบลูด็อกที่สามารถพบได้บ่อย ดังนี้
- โรคหมอนรองกระดูก (Intervertebral disc disease : IVDD) เป็นโรคที่พบในสุนัขพันธุ์เตี้ยแคระ เช่น พันธุ์บูลด็อก สามารถพบได้บ่อยในสุนัขที่เป็นกระดูกอ่อนเจริญผิดปกติ (Chondrodysplasia)
- ภาวะหลอดอาหารขยายใหญ่ (Megaesophagus) จากภาวะนี้อาจทำให้เกิดการสำลักเอาอาหารเข้าไปในทางเดินหายใจ (Aspiration pneumonia)
- กลุ่มอาการทางเดินหายใจของสุนัขหน้าสั้น (Brachycephalic syndrome) เป็นปัญหาที่พบมากที่สุดในสุนัขพันธุ์เฟรนช์ บูลด็อก เนื่องจากมีเพดานอ่อนของปากยาว หรือเพดานปากโหว่ (Cleft palate) โดยพบตั้งแต่ลูกสุนัขคลอดออกมา
- โรคไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำ (Hypothyroidism) จากภาวะนี้อาจทำให้เกิดการติดเชื้อที่ผิวหนังได้ สุนัขเลียเท้าตัวเองไม่หยุด (Obsessive foot licking), และเกิดถุงน้ำขึ้นบริเวณระหว่างนิ้ว (Interdigital cysts)
- โรควอนวิลลิแบรนด์ (von Willebrand’s disease (vWD)) ทำให้เลือดหยุดยาก
- โรคต้อกระจกในวัยเด็ก (Juvenile cataracts)
- โรคจอประสาทตาเจริญผิดปกติ (Retinal dysplasia)
- โรคเชอร์รี่อาย (Cherry eye) หรือหนังตาที่สามจากด้านในออกมาข้างนอก (Everted third eyelid) – แผลที่กระจกตา (Corneal ulcers)
- โรคต้อหิน (Glaucoma)
4 สิ่งที่คนเลี้ยงต้องทราบ เฟรนช์บูลด็อก
เมื่อรู้จักกับประวัติและการเลี้ยง เฟรนช์บูลด็อก ดูแบบคร่าว ๆ ไปแล้ว วันนี้จะพาทุกคนรู้จักอีก 4 ที่คนเลี้ยงน้อง ๆ จะต้องทราบกัน มีอะไรบ้างมาดู
- น้องชอบนอนกรน สำหรับคนที่ต้องการจะเลี้ยงก็ทำใจรอไว้ได้เลย ยิ่งเลี้ยงไว้ในห้องเดียวกันอาจจะเสียงดังรบกวนกันอย่างแน่นอน และการนอนกรนนี้นั้น ถือเป็นความผิดปกติในกลุ่มของสุนัขหน้าสั้น ทั้งนี้ถ้าหากพบว่าน้องนอนกรนอาจจะได้เวลาพาไปพบสัตวแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพสักหน่อย
- น้องไม่ค่อยทนอากาศร้อน ด้วยลักษณะทางกายภาพของน้องที่ปลายจมูกมีการตีบแคบ อาจจะทำให้หายใจไม่ค่อยสะดวก ซึ่งเวลาอยู่ในอากาศร้อนมาก ๆ มักจะมีอาการหอบและอ้าปากหายใจ ซึ่งน้องเหมาะกับการเลี้ยงในที่ที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก รวมถึงน้องยังไม่เหมาะกับการออกกำลังกายหนัก ๆ ในวันที่อากาศร้อนอีกด้วย
- น้องพูดเก่งมาก ๆ น้องชอบเลียนแบบเจ้าของ เวลาคนพูดอะไรน้องจะชอบพูดแทรก แถมยังชอบร้องเพลงตามแถมยังเถียงเก่งด้วย
- มักจะมีปัญหาคลอดยาก น้องเป็นสุนัขพันธุ์เล็ก แต่โครงสร้างของลูก ๆ นั้นจะมีขนาดหัวที่โตทำให้น้องคลอดลูกได้เองตามธรรมชาติจะค่อนข้างยากนั่นเอง บางตัวอาจจะมีเชิงกรานแคบก็ยิ่งยากไปใหญ่ เมื่อใกล้คลอดอาจจะพาน้องไปพบสัตวแพทย์เพื่อเตรียมตัว
อ่านบทความเพิ่มเติม
https://weluvpet.com/หมา/
เครดิต
https://google.com
เครดิต ไฮโลไทย , ไฮโลไทยได้เงินจริง , เกมไฮโลไทยเว็บตรง